“ต้นเถาเอ็นอ่อน” แก้ปวดเมื่อย ปวดหลังปวดเอว คลายเส้น

เถาเอ็นอ่อน แก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ทำให้เส้นอ่อน ขับลมในกระเพาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptolepis dubia จัดเป็นพืชสมุนไพร พบเห็นในทุกภาคของไทยจึงมีหลายชื่อ เช่น เครือเถาเอ็น เครือเขาเอ็น เขาควายเสน่งกู หญ้าลิเลน หมอตีนเป็ด ตีนเป็ดเครือ เครือเอ็นอ่อน เมื่อย กวน นอออหมี กู่โกวเถิง
ลักษณะของเถาเอ็นอ่อน
ต้นเถาเอ็นอ่อน เป็นไม้ประเภทเถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นต้องอาศัยต้นไม้อื่นเพื่อเลื้อยเถาขึ้นไป เถาตอนเล็กจะอ่อนถ้าจิกดูจะมีน้ำยางสีขาว เมื่อเถาแก่เถาจะใหญ่ขึ้นมากพอสมควรเนื้อจะแข็งลำต้นกลม เปลือกเถาหนาเป็นสีน้ำตาลอมสีดำหรือเป็นสีแดงเข้มและมีลายประตลอดเถา
ใบเถาเอ็นอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีความมันวาวสวยงาม ปลูกทำไม้ประดับได้เลย ใครอยากปลูกดูราคาต้นพันธุ์
สรรพคุณทางยา
ราก เถา และใบมีรสขมออกฤทธิ์เย็นหรือเรียกว่ายาเย็น มีพิษออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้เป็นยาฟอกเลือด
เถา นำมาต้มกินจะช่วยทำชุ่มชื่น ต้มได้ทั้งแบบสดและแห้ง ใครกินขมได้ต้มกินได้เลย ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็งทำให้เส้นอ่อนลง เถายังใช้แก้อาการฟกช้ำดำเขียว โดยใช้เถานำไปบดเป็นผง ผสมกับเหล้ารับประทาน หรือใช้เถาตากแห้งนำมาดองกับเหล้ารับประทานครั้งละ 5 ซีซี วันละ 3 ครั้ง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดเอว อันนี้สำหรับคนชอบแบบดองเหล้า
เมล็ด มีรสขมเมา เป็นยาขับลมในลำไส้และในกระเพาะอาหาร ช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
ใบ ใช้ทำเป็นลูกประคบ นำใบมาโขลกให้หยาบๆหรือละเอียดก็ได้เช่นกันห่อด้วยผ้าสะอาดนำไปนึ่งให้ร้อนหรือเอาน้ำฉีดพรมพอชื้นนำไปอบในตู้อบไมโครเวฟไฟอ่อนๆ แล้วนำมาประคบที่เราต้องการ ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย แก้ปวดเสียวเส้นเอ็น ช่วยคลายเส้นเอ็นทำให้เส้นเอ็นที่ตึงยืดหย่อนอ่อนลง
ข้อควรระวังในการใช้ไม่ใช่มีประโยชน์อย่างเดียวมีโทษด้วย
เนื่องจากเถาเอ็นอ่อนเป็นสมุนไพรที่มีสารซึ่งมีฤทธิ์ต่อการกระตุ้นของหัวใจ ฉะนั้นในการกินควรกินในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์และไม่ควรกินต่อเนื่องนานเกินไปจะเกิดโทษได้ ข้อมูลเพิ่มเติมยาคลายเส้น http://dipcode.manowvan.com/4379
ปัจจุบันเถาเอ็นอ่อนถูกนำมาเข้าตำรับยา กลุ่มที่แก้ปวดเมื่อยหรือที่เราคุ้นหูกันคือพวกยากษัยเส้น ทำให้เราซื้อมากินได้ง่ายและอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะมีทั้งแบบชนิดแคปซูล ชนิดอัดเม็ด ทำให้เราไม่ได้สัมผัสรสขมของยา กินง่ายขึ้นและปลอดภัย
ข้อมูลเพิ่มเติมขนาดการใช้เถาเอ็นอ่อน https://medthai.com/เถาเอ็นอ่อน
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “เถาเอ็นอ่อน (Thao En On)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 140.
- หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “เถาเอ็นอ่อน”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 120.
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “เถาเอ็นอ่อน”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 354.
- หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เถาเอ็นอ่อน”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 252.
- ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เถาเอ็นอ่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [18 มี.ค. 2014].
- สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “เถาเอ็นอ่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [18 มี.ค. 2014].
- ไทยโพสต์. “เถาเอ็นอ่อน สู้เมื่อยขบ เมื่อยตึง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [18 มี.ค. 2014].
You must log in to post a comment.