ต้นมะริด ไม้ทรงคุณค่าของไม้ป่าไทย
ในครั้งที่รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองตรัง พ.ศ. 2433 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงเครื่องเรือนเครื่องใช้ประเภท ตลับ โถ ที่ทำด้วยไม้มะริด และได้กล่าวถึงไม้มะริดในเมืองตรังว่า “ได้ถามถึงไม้มะริดว่าไม่มีซื้อขายกัน แต่ต้นที่มีอยู่นั้นไม่ใช่บนเขาสูง ที่ต่ำๆ ก็มี”
ลักษณะของต้นมะริด
ไม้มะริดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros philippensis A. DC. ชื่อพ้อง D. discolour Willd. มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Butter fruit อยู่ในสกุลไม้มะเกลือ เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ และเป็นไม้ทรงพุ่มสุง ใบหนาทึบ มีดอกสวยอันสวยงาม และมีผลเหมือนลูกท้อ กลิ่นหอม กินได้ อร่อยด้วยครับ
ลักษณะของเนื้อไม้มะริด
การขึ้นทรงพุ้มของต้นมะริดสวยงาม เปลือกต้นดำเป็นกระพี้ สวยเตะตา ครบสุตร..ครบสูตรครับ ขึ้นประปรายห่างๆ ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณทางภาคใต้
- กะพี้เนื้อไม้ สีชมพูอ่อน หนาหรือลึกประมาณ 20 เมตร
- แก่นไม้ สีดำแกมน้ำตาล แถบสีน้ำตาลไหม้ หรือสีน้ำตาลแกมแดงผสม
- เนื้อไม้แข็ง ละเอียดเหนียว และหนักมาก
- เนื้อไม้ทนทาน เป็นไม้ที่ทนทาน ถ้าใช้เลื่อยไส เลื่อยต้องเรียกพี่เลยแหละ เพราะว่ามันแข็งเอามากๆ เลยครับ คนโบราณนิยมใช้ขวานและสิ่ว แทนเลื่อย ในการขึ้นรูปหรือตกแต่ง ถ้าใช้เลื่อยฟันเลื่อยจะเสียหายหมด
- เนื้อไม้ขัดเงา แต่ถ้านำมาขัดเงา จะมีความเงางามมาก
- ไม้ป่าโตช้า เป็นไม้โตช้าและเป็นสิ่งที่น่าชื่นใจในความเป็น ต้นไม้มะริด ที่เป็นไม้เนื้อดี อีกทั้งมีสีสัน และลวดลายงดงามวิจิตร ที่ธรรมชาติประทานให้เรามา
ต้นมะริด ข้อมูลสำนักงานป่าไม้
ปัจจุบันจากข้อมูลของสำนักงานป่าไม้ ไม่ปรากฏว่ามีไม้มะริด ที่ใดในป่าเมืองตรัง แต่ยังมีไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับไม้มะริด คือไม้ตานดำ
ต้นตานดำ หรือ ไม้สาวดำ
ต้นตานดำ ที่ชาวบ้านเรียกว่า ไม้ขาวดำ หรือไม้สาวดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros transitoria Bakh. ซึ่งในเมืองตรังเคยมีมาก ในป่าแถบอำเภอปะเหลียน เชื่อมต่อกับจังหวัดสตูล โดยเฉพาะที่บ้านควน ไม้ดำซึ่งเป็นแหล่งไม้ที่ใช้ส่งส่วยผ่านเมืองพัทลุงไปยังเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อจะส่งไปยังกรุงศรีอยุธยาอีกต่อหนึ่ง
อ้อ..ลืมบอกไปว่า มีบางท่านเข้าใจผิดว่า ต้นเพกา หรือ ลิ้นฟ้า มีชื่อทางพื้นบ้านภาคเหนือว่า มะลิดไม้ เลยทำให้คนทางเหนือเข้าใจว่า ไม้มะลิดก็ คือมะริดไม้ อันนี้เข้าใจผิดครับเพียงแต่มีชื่อพ้องกันครับ หากเทียบความแข็งแล้ว ไม้มะริดแข็งกว่าครับ เพราะเรานำส่วนของไม้ทั้งต้นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นมะลิดพี่น้องชาวเหนือเรานำมาทำอาหารทานกัน
ประโยชน์ ไม้มะริด
ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ชั้นดี ด้ามเครื่องมือ หีบบุหรี่ หีบประดับมุก กรอบรูป ด้ามปืน เครื่องดนตรี เครื่องลางของขลังฯลฯ
ต้นมะริด ไม้หายาก ไม้ในฝัน
ไม้ในฝันที่หายากมากที่สุดของช่างทำเครื่องดนตรีไทย คือ ไม้มะริด ใช้ทำเครื่องดนตรีที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์เหมือนชื่อ และก็เป็นที่มาของเสียงอันไพเราะของเครื่องดนตรี ถ้าเครื่องดนตรีชนิดใดที่ทำมาจากไม้มะริดแล้วละก็ จะมีราคาที่แพงริบริ่วเลยครับ เพราะเสียงจะใสและกังวาลมาก ฝรั่งนิยมาหาซื้อแถวโซนเอเซียตะวันออก ปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งสามารถทำเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย กลอง โทน รำมะนา ระนาด ตะโพน กีต้า ไวโอริล ฯลฯ
ไม้สำหรับทำเครื่องดนตรี ระนาด กลองและไม้กับ
ไม้มะริดนี้ งดงามมาก จัดเป็นไม้ชั้นเลิศ ขนาดที่ทูลกระหม่อม(สมเด็จพระเทพฯ) รับสั่งให้หาเพื่อที่จะทรงนำไปสร้างรางระนาด ระนาดรางนี้งดงามมากครับ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่เรือนไทยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะเสด็จมาทรงระนาดรางนี้ทุกปีครับ ผมได้มีโอกาส ไปเที่ยวบ้านครูอ้วน แห่งวงปี่พาทมอญ คณะ นักฟ้อนบรรเลง เมืองสุพรรณ ท่านชี้ให้ดูว่าได้ไปซื้อ ไม้มะริดมาจากพม่า เป็นไม้หน้าหกหน้า3นิ้ว 2แผ่น บอกว่าจะเอาไปทำซอ ฝากเพื่อนหามาจากพม่า ในราคา20,000 โอ้วแม่เจ้าโว้ย.. มันแพงอะไรอย่างนี้….
ลักษณะผลมะริด เปลือกแดงเป็นกำมะหยี่
น่าดีใจใน ภูมิปัญญาความรู้ ของช่างดนตรีไทยในอดีต ทำให้ผมอยากรู้จังเลยว่า ท่านใดหนอ เป็นคนพบเจอสรรพคุณอันครบสูตรของไม้ต้นนี้ (คงต้องจุดธูปถาม) นอกจากความสวยของดอก ผลขนาดใหญ่ที่มีกลิ่นหอมและหวาน อร่อยแปลกทั้งสุกและดิบ ใครไม่รู้ต้องนึกว่าเป็น ผลท้อกินสดแน่ๆเชียว
ต้นมะริดไม้กับต้นมะริดไม้เนื้อแข็ง แตกต่างกันอย่างไร
ความเข้าใจที่ผิดเพกา หรือลิ้นฟ้า มีชื่อทางพื้นบ้านภาคเหนือว่า มะริดไม้ เลยทำให้คนทางเหนือเข้าใจว่า ไม้มะริดก็คือ มะริดไม้ อันนี้เข้าใจผิดครับเพียงแต่มีชื่อพ้องกันครับ หากเทียบความแข็งแล้ว ไม้มะริดเรานำส่วนของไม้ทั้งต้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่าน้ำหนักมากกว่า แข็งกว่าครับ
“ต้นไม้มะริดนี่หายาก เป็นไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีทำรางระนาด หาค่าไม่ได้ เดี๋ยวนี้จะทำรางระนาดทีต้องไปหาที่พม่าแล้วนะครับ แต่ถ้าใครอยากจะได้ ก็มาขอแบ่งจากผมได้นะครับ แต่ให้มากไม่ได้นะครับ เพราะมีน้อย ที่ได้มานี่ไปขอซื้อเมล็ดมาจาก ชาวกะเหรี่ยง ชาวมอญ มาครับ โทร.081-558-2320 คุณบุญชู เกิดโภคา เอ้า..แบ่งๆกันไป ประเทศไทยจะได้มี ต้นมะริดไว้ใช้สอยกับเขาบ้าง คือที่จริงแล้วกรมป่าไม้ น่าจะมีการส่งเสริม แต่เขาคงเห็นว่าไม่ใช่ไม้สำคัญมากพอที่จะส่งเสริม ส่วนใหญ่ก็จะส่งเสริมไม้ตามกะแสมากกว่า ปลูกแล้วเจ้งครับ ขายต้นหนึ่งไม่กี่บาท ปลูกมะริดดีกว่า ขายต้นเป็นแสน”
การปลูกต้นมะริด วิธีปลูกไม้ป่า
https://www.thaicentralgarden.com/
การปลูกไม้ป่า เช่นต้นมะริด ต้นชิงชัน ต้นมะค่าโมงหรือ ต้นพยุง ควรขุดหลุมให้ลึก เพราะไม้กลุ่มนี้ เป็นไม้ที่มีลำต้นสูงและใหญ่ ถ้าขุดหลุมไม่ลึก หรือขุดหลุมตื้นเกินไป เมื่อต้นไม้โตและสูงมากๆ ลมพายุ พัดเเรงๆ จะทำให้โค่นล้มได้ง่าย
ต้องการปลูกไม้ป่า ต้นมะริด หาต้นกล้าได้ที่ไหน
รายละเอียดเพิ่มเติม ต้นพันธุ์ไม้ป่าอื่นๆ ต้นมะริด
http://everysale.thaicentralgarden.com/
ติดต่อสอบถามที่ Call Center 0891710545, 0911138831, 0815582320 เวลา: (7.00 – 20.00)
Facebook : สุกัลยา เชียงดาว เฮิร์บ https://www.facebook.com/sukanya.dung
Line ID: @sukanyathaig
Line ID: yimthais
ฝ่ายวิชาการ 0923794398 คุณบุญชู เกิดโภคา
Mail: thaicentralgarden@gmail.com
ปลูกต้นมะริด ป่าวัดเขาสามสิบหาบ กาญจนบุรี
https://www.thaicentralgarden.com/7636
ความเห็นถูกปิด