รายชื่อพันธุ์กล้วยไทย กล้วยแปลก กล้วยหายากและกล้วยต่างประเทศ

รายชื่อพันธุ์กล้วยไทย ที่ควรค่ากับการปลูกสะสมไว้ให้ลูกหลานได้กิน กล้วยแปลก กล้วยหายากและกล้วยต่างประเทศ สวนกล้วยThaiGปลูกสะสมไว้เป็นจำนวนมาก อยากรู้เรื่องกล้วย สอบถามได้ค่ะ

อยากกินกล้วยแปลก กล้วยหายาก ท่านต้องหามาปลูก กล้วยเหล่านี้ ไม่มีขายตามท้องตลาด ถ้าอยากมีไว้ประดับสวน ประดับบ้านของท่าน คุณต้องไปหาต้นพันธุ์มาปลูก หาต้นพันธุ์ไม่ได้ไป “ศูนย์เพาะพันธุ์ไม้”

รายชื่อพันธุ์กล้วยไทย กล้วย สาวกระทืบหอ

ผลกล้วยสาวกระทืบหอ

รายชื่อพันธุ์กล้วยไทย ที่ควรหามาปลูกเพราะหายาก

ประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อนชื้น ซึ่งกล้วยสามารถเจริญเติบโตได้ดี ฉะนั้นในประเทศไทยจึงมีพันธุ์กล้วยที่ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 197 สายพันธุ์ ทั้งทานได้ ทานไม่ได้และกล้วยสวยงามประเภทประดับ

แต่น้อยคนนักที่จะรู้จัก สายพันธุ์กล้วยทั้งหมด เพราะเยอะแยะมากมาย จะรู้ก็เฉพาะที่เห็นวางขายตามท้องตลาด ยิ่งโดยเฉพาะเด็กๆแทบจะไม่รู้จักต้นกล้วยและผลกล้วยสายพันธุ์แปลกและหาดูยาก

วันนี้เวป“ThaiG ไทยเซ็นทรัลการ์เด้น” ก็เลยรวบรวมรายชื่อพันธุ์กล้วยไทย กล้วยแปลก กล้วยหายากและพันธุ์กล้วยต่างประเทศ ที่ปลูกในประเทศไทยมาไว้ที่เวป “ThaiG” อาจจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับคนที่อยากรู้เกี่ยวกับพันธุ์กล้วย

รายชื่อพันธุ์กล้วยไทย ที่หายาก

ชื่อ รสชาติ
ประเภททานได้
1.กล้วยตีบ(กรบูร) รสหอมหวาน
2.กล้วยกรัน
3.กล้วยกรามช้าง(กรามคชสาร,กรามแรด)
4.กล้าย(โกก,หมอนทอง)
5.กล้วยกาไน
6.กล้วยกาบก
7.กล้วยกินกาบ
8.กล้วยกุ้งเขียว(กลายพันธุ์จากกล้วยนาก)
9.กล้วยกุ้งทองผาภูมิ(กลายพันธุ์จากกล้วยนากทองผาภูมิ)
10.กล้วยขนุน
11.กล้วยขม(ขมหนัก,ขมเบา)
12.กล้วยขี้แมวหาดใหญ่
13.กล้วยไข(ไข่กำแพงเพชร,กระ)
14.(บ้านไร่)
15.กล้วยไข่ขาว
16.กล้วยไข่แดง
17.กล้วยไข่พระตะบอง(ไข่บอง,ไข่โนนสูง,ไข่น้ำ,ไข่ควาย,เจ๊กบอง,ทองเบา,หอมเบา)
18.กล้วยไข่ทองเงย(ทองเงย)
19.กล้วยไข่ทองร่วง(ค่อมเบา)
20.กล้วยไข่โบราณ
21.กล้วยไข่ศรีสะเกศ
22.กล้วยไข่ดำ
23.กล้วยครั่ง(น้ำครั่ง,นากพม่า,นากทองผาภูมิ,นากยักษ์,หลอกเด็ก[ใต้])
24.กล้วยค่อม
25.กล้วยค่อมเขียว
26.กล้วยคำ
27.กล้วยคอหัก
28.กล้วยงาช้าง(ยักษ์)
29.กล้วยง้าว
30.กล้วยเงิน
31.กล้วยเงาะ(หอมมือนาง)
32.กล้วยจันนวล
33.กล้วยจี
34.กล้วยช้าง
35.กล้วยเชียงฮาย
36.กล้วยแซลอ
37.กล้วยแดง(นากค่อม)
38.กล้วยแดงค่อม(แดงเตี้ย)
39.กล้วยตะกุ่ย
40.กล้วยตะโหลน(ตะลิ)
41.กล้วยตีบ(ตีบคำ,อีตีบ)
42.กล้วยเตี้ย
43.กล้วยตำนวล(แตงนวล)
44.กล้วยต่ำ(ป้ำ)
45.กล้วยทองก้านดำ
46.กล้วยทองขี้แมว
47.กล้วยทองคด
48.กล้วยทองดอกหมาก(หมาก)
49.กล้วยทิพรส
50.กล้วยทองมัน
51.กล้วยทองเลื่อน
52.กล้วยทองเสา
53.กล้วยเทพรส (สิ้นปลี,อีแท้,ปลีหาย,ปลีหลุด,ตีนเต่า,สังกิโว,พะโล,พาโล)  รสหวานเย็นหอมเล็กน้อย
54.กล้วยทุเรียน
55.กล้วยนกสวรรค์(ไข่ฝรั่ง,นางนวล)
56.กล้วยนมแขก
57.กล้วยนมแพะ
58.กล้วยนมนาง
59.กล้วยนมสาว(หอมเพชร,นมสาวหาดใหญ่,ทองกำปั่น)   รสหวานหอม
60.กล้วยนมหมี  รสชาติไม่ดี นิยมทำเป็นกล้วยฉาบ
61.กล้วยนาก(กุ้ง,กุ้งแดง)
62.กล้วยนางนวล
63.กล้วยนางพญา(พระยาเสวย,พญา,นางญา{ใต้})
64.กล้วยนางเงย
65.กล้วยนิ้วมือนาง(หวาน)
66.กล้วยน้ำ(กระเจาะเนิก)
67.กล้วยน้ำกาบดำ(น้ำพัด)
68.น้ำเชียงราย
69.กล้วยน้ำนม
70.กล้วยน้ำฝาด
71.กล้วยน้าไทย(น้ำไท,หอมเล็ก)
72.กล้วยน้ำนมราชสีห์  รสหวานออกเปรี้ยว
73.กล้วยน้ำละโว้
74.กล้วยน้ำว้า(ใต้{เหนือ}มะลิอ่อง,น้ำละว้า)
75.กล้วยน้ำว้ากาบขาว
76.กล้วยน้ำว้าขาว(น้ำว้าต้นสูง,น้ำว้าปุยฝาย,น้ำว้าขันหมาก)
77.กล้วยน้ำว้าเขียว
78.กล้วยน้ำว้าค่อม(น้ำว้าเตี้ย,น้ำว้าปีนัง)
79.กล้วยน้ำว้าด่าง
80.กล้วยน้ำว้าดง
81.กล้วยน้ำว้าแดง(น้ำว้าไส้แดง,น้ำว้าในอ่อน)
82.กล้วยน้ำว้าดำ(น้ำว้าไฟ)
83.กล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
84.กล้วยน้ำว้านวลจันทร์(น้ำว้านวล)
85.กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
86.กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องขาว
87.กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเขียว
88.กล้วยน้ำว้ามหาราช
89.กล้วยน้ำว้ายักษ์
90.กล้วยน้ำว้าไส้ดำ
91.กล้วยน้ำว้าสวน(ทองมาเอง,ทองลอยมา)
92.กล้วยน้ำว้าไส้แดง(น้ำว้าอ่อน,น้ำว้าไส้แดง)
93.กล้วยน้ำว้าหนัง
94.กล้วยน้ำว้าเหลือง
95.กล้วยน้ำหมาก
96.กล้วยนิ้วจระเข้(นิ้วนาง)
97.กล้วยนิ้วนางรำ
98.กล้วยประจำพานร
99.เปราะ
100.กล้วยพม่าแหกคุก
101.กล้วยภีมเสน(พิมเสน)
102.กล้วยเภา(ใต้)
103.กล้วยมัน
104.กล้วยมือจระเข้
105.กล้วยแม่หม้ายต๊อก
106.กล้วยไร่
107.กล้วยไร่กระเหรี่ยง
108.กล้วยลังกา(ไข่ฝรั่ง,เปรี้ยว,นมสวรรค์,ส้ม,ลูกมาก,จีน)
109.กล้วยเล็บช้างกุด(โก๊ะ,เล็บช้าง,อีเต่า,โก้)
110.กล้วยเล็บมือนาง(ข้าว,เล็บมือ)   รสหวานหอม
111.กล้วยไล(ใต้)
112.กล้วยสา
113.กล้วยสากกะเบือ
114.กล้วยสามเดือน
115.กล้วยสาวกระทืบหอ(เนื้อทอง)   รสหวานหอม
116.กล้วยสีแสด
117.กล้วยสีสะโต
118.กล้วยแส้ม้า
119.กล้วยสองกำปั่น
120.กล้วยหิน  ใช้ต้มรับประทานจะมีรสชาติอร่อยมาก
121.กล้วยหมูสี
122.กล้วยหริน
123.กล้วยหลวง
124.กล้วยหวานกระเหรี่ยง
125.กล้วยหวานทับแม้ว
126.กล้วยหอมกระเหรี่ยง(หอมพิจิตร,หอมแม้ว,หอมน้ำผึ้ง)
127.กล้วยหอมไข่(หอมแขก)
128.กล้วยหอมเขียว(คร้าว,เขียวคอหัก)
129.กล้วยหอมเขียวค่อม(หอมเตี้ย,หมูสี,เตี้ย,หอมค่อม,หอมดอกไม้)
130.กล้วยหอมแขก(จากนวล,น้ำนม)
131.กล้วยหอมจำปา(ทองเถื่อนนครศรีธรรมราช)
132.กล้วยหอมจันทร์(หอมจัน,หอมจันทร์)
133.กล้วยหอมทอง(หอม)
134.กล้วยหอมทองกาบดำ
135.กล้วยหอมทองกาบเขียว
136.กล้วยหอมทองค่อม
137.กล้วยหอมทองสั้น(หอมผลสั้น,หอมอีสาน)
138.กล้วยหอมทิพย์นครสวรรค์
139.กล้วยหอมทองไต้หวัน
140.กล้วยหอมเปรี้ยว(เปรี้ยว,มะขาม,ใช้[กระเหรี่ยง])
141.กล้วยหอมมือนาง
142.กล้วยหอมว้า
143.กล้วยหอมหนองบัวลำพู
144.กล้วยหักมุก   รสเปรี้ยว
145.กล้วยหักมุกเขียว   รสเปรี้ยว
146.กล้วยหักมุกทอง   รสเปรี้ยว
147.กล้วยหักมุกนวล   รสเปรี้ยว
148.กล้วยหักมุกส้ม(ส้ม)   รสเปรี้ยว
149.กล้วยหักมุกเหลือง(ส้ม)   รสเปรี้ยว
150.กล้วยหัวแข็ง
151กล้วยหัวหิน
กล้วยพันธุ์ต่างประเทศ
152.กล้วยกรู
153.กล้วยซาบ้า
154.กล้วยซูซู
155.กล้วยด่างฟอริด้า
156.กล้วยแดงเล็ก
157.กล้วยเทพนม  รสชาติหวานอร่อย
158.กล้วยปิซังปาปาน
159.กล้วยปิซังราชา
160.กล้วยปิซังอัมเปรียง
161.กล้วยมาฮอย(หอมเครือแฝด)
162.กล้วยราชาปูริ  รสหอมหวาน
163.กล้วยแลนดี้
164.กล้วยแปซิฟิกแพนเทรน
165.กล้วยหอมแกรนด์เนล
166.กล้วยหอมโทม๊อก
167.กล้วยหอมFAIE-03
168.กล้วยหอมวิลเลี่ยม
169.กล้วยไอศครีม
170.กล้วยโอกินาวา
171.กล้วยฮัวเมา
172.กล้วยฮอนดูรัส
พันธุ์กล้วยที่ไม่นิยมกินหรือกินไม่ได้รวมทั้งกล้วยประดับ
173.กล้วยกีบม้า
174.กล้วยดารารัศมี(คุนหมิง)(Musella Lasiocarpa)
175.กล้วยตานี(Musa balbisiana)(พองลา,งู,ป่า,ชะนีใน,ตานีใน,เมล็ด)
176.กล้วยตานีดำ  รสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก
177.กล้วยตานีด่าง
178.กล้วยโทน(Ensete spp)(นวล,ญวน,ป้ำป้า,ศาสนา,หัวโต)
179.กล้วยบัวขาว(บัว)
180.กล้วยบัวชมพู(บัว)
181.กล้วยบัวแดง(บัว,ไหล)
182.กล้วยบัวม่วง(ฮาวาย)
183.กล้วยบัวส้ม
184.กล้วยบัวหลวง
185.กล้วยป่า(Musa acuminate)(เถื่อน)
186.กล้วยป่าปลีเหลือง
187.กล้วยป่าด่าง
188.กล้วยปลัด
189.กล้วยปลีตั้ง
190.กล้วยปิซังกระแต(ศรีนรา,ปิซังเวก,ปิซังโอนิก)
191.กล้วยผา(Ensete superbbum)(ครก)
192.กล้วยรัตกัทลี(กัทลี)
193.กล้วยร้อยหวี(งวงช้าง,บายสี)
194.กล้วยรุ่งอรุณ(ขนแดง,จุกแดง)
195.กล้วยเสือพราน(ทหารพราน,ใบลาย,เลือด)
196.กล้วยเสือสุมาตรา
197.กล้วยหก(แดง,อ่างขาง)
198.กล้วยร้อยปลี

คลิกดูรายชื่อพันธุ์กล้วยที่เราจำหน่าย

[nggallery id=7]

กล้วยแยกประเภทได้ 9 กลุ่ม

1.กลุ่ม AA ขนาดเล็กรสหวาน กลิ่นหอม

ที่พบในประเทศไทยมีกล้วยป่า สำหรับกล้วยกินได้ในกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด ได้แก่ กล้วยไข่  กล้วยเล็บมือนาง  กล้วยหอมจันทร์  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยไข่จีน  กล้วยน้ำนม  กล้วยไล  กล้วยสา  กล้วยหอม  กล้วยหอมจำปา   กล้วยทองกาบดำ กล้วยนมสาว

2.กลุ่ม AAA ขนาดใหญ่เนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม

กล้วยกลุ่มนี้มีจำนวนโครโมโซม 2n = 33 ผลจึงมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก รูปร่างผลเรียวยาว มีเนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม   รับประทานสดเช่นกันได้แก่  กล้วยหอมทอง  กล้วยนาก  กล้วยครั่ง  กล้วยหอมเขียว  กล้วยกุ้งเขียว  กล้วยหอมแม้ว  กล้วยไข่พระตะบอง  กล้วยคลองจัง

3.กลุ่ม BB รับประทานผลอ่อน

ในประเทศไทยจะมีแต่กล้วยตานี  ซึ่งเป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง แต่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย  รับประทานผลอ่อนได้   โดยนำมาใส่แกงเผ็ด  ทำส้มตำ ไม่นิยมรับประทานผลแก่  เพราะมีเมล็ดมาก  แต่คนไทยและคนเอเชียส่วนใหญ่รับประทานปลีและหยวก ไม่มีกล้วยกินได้ในกลุ่ม  BB  ในประเทศไทย แต่พบว่ามีที่ประเทศฟิลิปปินส์

4.กลุ่ม BBB รับประทานโดยการทำให้สุก โดยการต้ม ปิ้ง เผา

กล้วยในกลุ่มนี้เกิดจากกล้วยตานี (Musa balbisiana)  เนื้อไม่ค่อยนุ่ม  ประกอบด้วยแป้งมาก เมื่อสุกก็ยังมีแป้งมาก อยู่   จึงไม่ค่อยหวาน ขนาดผลใหญ่  เมื่อนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้รสชาติดีขึ้น เนื้อเหนียวนุ่ม เช่น กล้วยเล็บช้างกุด

5.กลุ่ม AAB รับประทานโดยการทำให้สุก โดยการต้ม ปิ้ง เผา

กล้วยกลุ่มนี้เกิดจากการผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี  เมื่อผลสุกมีรสชาติดีกว่ากล้วยกลุ่ม ABB  ได้แก่ กล้วยน้ำ      กล้วยน้ำฝาด  กล้วยนมสวรรค์  กล้วยนิ้วมือนาง  กล้วยไข่โบราณ  กล้วยทองเดช  กล้วยศรีนวล  กล้วยขม  กล้วยนมสาว  แต่มีกล้วยกลุ่ม AAB  บางชนิดที่มีความคล้ายกับ ABB กล่าวคือ เนื้อจะค่อนข้างแข็ง  มีแป้งมาก  เมื่อสุกเนื้อไม่นุ่ม  ทั้งนี้อาจได้รับเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่าที่ต่าง  sub species กัน  จึงทำให้ลักษณะต่างกัน  กล้วยในกลุ่มนี้เรียกว่า  plantain  subgroup  ซึ่งจะต้องทำ ให้สุกโดยการต้ม ปิ้ง เผา  เช่นเดียวกับกลุ่ม ABB  ได้แก่  กล้วยกล้าย  กล้วยงาช้าง  กล้วยนิ้วจระเข้  กล้วยหิน  กล้วยพม่าแหกคุก

6.กลุ่ม ABB  บประทานโดยการทำให้สุก โดยการต้ม ปิ้ง เผา เชื่อม

กล้วยกลุ่มนี้เป็นลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี  มีแป้งมาก ขนาดผลใหญ่  ไม่นิยมรับประทานสด  เพราะเมื่อสุกรสไม่หวานมาก  บางครั้งมีรสฝาด  เมื่อนำมาต้ม  ปิ้ง  ย่าง  และเชื่อม  จะทำให้รสชาติดีขึ้น ได้แก่  กล้วยหักมุกเขียว  กล้วยหักมุกนวล  กล้วยเปลือกหนา  กล้วยส้ม  กล้วยนางพญา  กล้วยนมหมี  กล้วยน้ำว้า  สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น ๓  ชนิด  ตามสีของเนื้อ  คือ  น้ำว้าแดง  น้ำว้าขาว  และน้ำว้าเหลือง  คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด  ต้ม  ปิ้ง  และนำมาประกอบอาหาร  นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว  รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว  สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด  เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด

7.กลุ่ม ABBB รสหวาน

กล้วยในกลุ่มนี้เป็นลูกผสมเช่นกันจึงมีแป้งมาก  และมีอยู่พันธุ์เดียวคือ  กล้วยเทพรส  หรือกล้วยทิพรส  ผลมีขนาดใหญ่มาก  บางทีมีดอกเพศผู้หรือปลี  บางทีไม่มี  ถ้าหากไม่มีดอกเพศผู้  จะไม่เห็นปลี  และมีผลขนาดใหญ่  ถ้ามีดอกเพศผู้  ผลจะมีขนาดเล็กกว่า  มีหลายหวีและหลายผล  การมีปลีและไม่มีปลีนี้เกิดจากการกลายพันธุ์แบบกลับไปกลับมาได้  ดังนั้นจะเห็นว่าในกอเดียวกันอาจมีทั้งกล้วยเทพรสมีปลี และไม่มีปลี  หรือบางครั้งมี  ๒ – ๓  ปลี  ในสมัยโบราณเรียกกล้วยเทพรสที่มีปลีว่า กล้วย  ทิพรส กล้วยเทพรสที่สุกงอมจะหวาน  เมื่อนำไปต้มมีรสฝาด

8.กลุ่ม AABB

เป็นลูกผสมมีเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่ากับกล้วยตานี กล้วยในกลุ่มนี้มีอยู่ชนิดเดียวในประเทศไทย  คือ  กล้วยเงิน ผลขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายกล้วยไข่  เมื่อสุกผิวสีเหลืองสดใส  เนื้อผลสีส้ม  มีแป้งมาก  รับประทานผลสด

9.กล้วยประดับ  นอกจากกล้วยดังที่ได้กล่าวแล้วยังมีกล้วยป่าที่เกิดในธรรมชาติซึ่งมีเมล็ดมาก ทั้งกล้วยในสกุล Musa acuminata  และ  Musa  itinerans หรือที่เรียกว่า  กล้วยหก  หรือกล้วยอ่างขาง  และกล้วยป่าที่เป็นกล้วยประดับ  เช่น  กล้วยบัวสีส้ม  และกล้วยบัวสีชมพู

ที่มาhttp://guru.sanook.com/encyclopedia/พันธุ์กล้วยในประเทศไทย/สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

ใครอยากมีพันธุ์กล้วยแปลก กล้วยหายาก และกล้วยพันธุ์ต่างประเทศไปปลูกในราคาถูกใจ โทรสอบถามเพิ่มเติม 089-1710545 คุณสุกัลยา Line id : @sukanyathaig 

ดูรายชื่อพันธุ์กล้วย รายละเอียดเพิ่มเติม ที่เราจำหน่าย http://everysale.thaicentralgarden.com/index.php?route=product/category&path=71

ติดต่อสอบถามที่ Call Center 0891710545, 0815582320

Facebook : สุกัลยา เชียงดาว เฮิร์บ https://www.facebook.com/sukanya.dung

Line ID: @sukanyathaig

Line ID: manow98

ฝ่ายวิชาการ 0923794398 คุณบุญชู เกิดโภคา

Mail: thaicentralgarden@gmail.com