สรรพคุณของบัวหลวง บัวไทย ใช้ได้ทั้ง5 แก้ท้องเสีย บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ ขับปัสวะ บำรุงกำลัง แก้พุพองและร้อนใน เส้นโลหิตตีบในหัวใจ ขยายเส้นเลือด ต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณของบัวหลวง บัวไทยสัตตบุตย์ ดอกสีขาว
สรรพคุณของบัวหลวง หรือ บัวไทย หรือ บัวฉัตร์ขาว เรียกกันทั่วไปว่า “สัตตบุตย์” ของเรานั้นมีประโยชน์และสรรพคุณมาก
ลักษณะของบัวหลวงขาวซ้อน ( บัวฉัตรขาว ) มีชื่อว่า สัตตบุตย์
ดอกบัวมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม คล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช ดอกมีสีขาว ประกอบด้วยกลีบดอกสีเขียวอมขาว ส่วนกลีบชั้นในสีขาวตลอด ส่วนรูปทรงและการเรียงตัวของกลีบดอกคล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn.
ชื่อสามัญ : Lotus
วงศ์ : Nelumbonaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวหลวง :
เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่
ลักษณะของใบบัวหลวง
- ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล
- ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว
- ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ
- ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า
- ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย
- กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น
- เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล
- ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า “ฝักบัว”
- มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมากส่วนที่ใช้ : ดีบัว ดอก เกษรตัวผู้ เมล็ด ไส้ของเมล็ด ยางจากก้านใบและก้านดอก เง่า ราก
สรรพคุณของบัวหลวง
ดีบัว – มี Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวทำให้เส้นเลือดขยาย
ดอก, เกษรตัวผู้ – ขับปัสสาวะ ฝากสมาน ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ เกษรปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง ทำให้ชื่นใจ ยาสงบประสาท ขับเสมหะ
เหง้าและเมล็ด – รสหวาน เย็น มันเล็กน้อย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง
เมล็ดอ่อนและแก่ – เมล็ดใช้รับประทานเป็นอาหาร และใช้ทำเป็นแป้งได้ดี
เหง้าบัวหลวง – ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน
ไส้ของของเมล็ด – แก้เส้นโลหิตตีบในหัวใจ
ยางจากก้านใบและก้านดอก – แก้ท้องเดิน
ราก – แก้เสมหะ
ใบ- ใบบัว มีสารอัลคาลอยด์หลายชนิด ซึ่งสามารถปรุงเป็นยาได้หลายตำหรับ และมีสรรพคุณทางยาดังนี้
– ลดความดันโลหิตสูง ใบสด หรือแห้งหั่นเป็นฝอยต้มกับน้ำพอท่วมจนเดือด 10-15 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน แล้วตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะพร้อมทั้งสังเกตอาการ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ปวดท้ายทอย เวียนศีรษะ มึนงง ถ้าดื่มแล้วความดันโลหิตลดลงก็ต้องหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งสังเกตอาการดังกล่าว ถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์
– ระงับอาการหวัด และช่วยลดเสมหะ ในสมัยโบราณได้มีการนำใบบัวมาหั่นเป็นฝอยผึ่งแดดให้แห้งทำเป็นมวนสูบบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก
ที่มา : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
ประโยชน์ของใบบัวหลวง
เมื่อไม่นานที่ผ่านมาเราได้มีโอกาศไปเที่่ยวงานที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตฯ งานนี้มีบัวเป็นตัวชูโรง มีผลิตภัณฑ์จากบัวหลวงมาโชว์เยอะแยะมากมาย เช่น
ผ้า ใยบัว น้ำรากบัว น้ำดอกบัว ชาเกสรบัว ชาใบบัว ไอศครีมจากเกสรบัว คุกกี้จากแป้งบัว น้ำหอม ยาดม เมี่ยงคำดอกบัวอ่อนและกลีบบัว และส่วนของกลีบดอก เกสร ใบ ที่เหลือเศษเล็กเศษน้อยก็นำไปใส่ถุงผ้าสวยๆใส่การะบูนเข้าไปใช้สำหรับไล่ กลิ่นอับในรถ และยังมีอีกมายสำหรับสรรพคุณของบัวหลวง
ผู้ที่ชื่นชอบ สรรพคุณของบัวหลวง ก็ลองหาซื้อไว้ไปปลูกที่บ้านใส่กระถางก็ได้ ท่านจะได้ทั้งเป็น ไม้ประดับ ไม้ใบ พร้อมกับสมุนไพรดีๆ ไว้ในบ้านของท่าน ถ้าหาซื้อไม่ได้ก็ติดต่อมานะ
smttd says:
อยากจะขอคำแนะนำหน่อยครับ พอดีผมอยากจะปลูก บัวหลวง ค่ะ ที่นี้มีจำหน่ายบัวหลวงใช่ไหมค่ะ และการปลูกบัวหลวงมันยากมากไหมค่ะดูแลง่ายไหมค่ะ แนะนำหน่อยค่ะ
ya2512 says:
มีค่ะ ทางสวนของเรามีขายอยู่ค่ะ ปลูกง่ายดูแลง่ายค่ะ ปลูกในกระถางก็ได้นะค่ะ เป็นใม้ประดับค่ะ และสพรรคุณของบัวหลวงนี้มีมากมายเลยค่ะ ลองหาซื้อมาปลูกได้นะค่ะ