X

หมวดหมู่สินค้า

ลำไยปิงปอง ผลใหญ่รสชาติหวานหอม เนื้อหนาเมล็ดเล็ก ไม่ฉ่ำน้ำ

ผลลำไยปิงปอง ลำไยเวียดนามผลใหญ่เมล็ดเล็ก

ลำไยปิงปอง เป็นลำไยสายพันธุ์พื้นเมืองของเวียดนาม และมีการพัฒนาจนลูกใหญ่เท่ากับปิงปอง น้ำหนักประมาณ 30 ผลต่อกิโลกรัม รสชาติหวานหอม เนื้อหนาไม่ฉ่ำน้ำ เมล็ดเล็ก

ลำไยปิงปอง เมล็ดเล็ก เนื้อเยอะ เนื้อแห้ง

ลำไยปิงปองสายพันธุ์เวียดนาม เป็นลำไยเมืองร้อนและเป็นพันธุ์ลำไยคนนิยมปลูกและคนนิยมกิน ติดผลง่ายออกผลทวายปีละ 2 ครั้ง พืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ไม่ต้องใช้สารเร่งใด ๆ เพียงแค่ควั่นกิ่งไว้ลำไยก็จะติดดอกออกผลเอง และเมื่อติดผลแล้ว จะใช้เวลาเพียง 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลได้ ซึ่งถือว่าติดดอกและผลเร็วมากๆ

ลักษณะของใบและดอกของลำไยปิงปอง สวนลำไยThaiG สามพราน

ลักษณะของต้นลำไยปิงปอง

ต้นลำไยปิงปอง เป็นไม้ทรงพุ่มเล็กกะทัดรัด ใบ คล้ายลำไยเครือหรือลำไยเลื้อยของไทย ใบเล็ก ใบอ่อนสีแดงปนเทา ใบแก่สีเขียว แผ่นใบเรียบ ช่อดอกลำไยปิงปอง ออกช่อที่ปลายยอด ผลลำไยปิงปองมีขนาดใหญ่ เท่ากับลูกปิงปอง กิ่งก้านเหนียวแข็งแรง ติดผลดกปีละ 2 ครั้ง เปลือกสีน้ำตาล เนื้อเป็นสีเหลืองน้ำผึ้ง เนื้อหนาแห้งไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวาน มีกลิ่นหอม เมล็ดเล็ก และเมื่อปลูกได้ประมาณ 2 ปี ก็ติดดอกออกผล

ประโยชน์ของลำไยปิงปอง

ประโยชน์ของลำไยปิงปอง เป็นลำไยผลใหญ่ใช้รับประทานเป็นผลไม้อาหารว่าง และสามารถนำมาแปรรูปได้เหมือนลำไยพันธุ์อื่น ๆ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ลำไยอบแห้ง วุ้นลำไย น้ำลำไย คำแนะนำ อย่ารับประทานลำไยในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจะทำให้ร้อนใน เป็นผลในปาก และตาแฉะได้

ผลลำไยปิงปอง ลูกใหญ่และเมล็ดเล็ก

การขยายพันธุ์ ลำไยปิงปอง

ต้นลำไยปิงปอง ขยายพันธุ์ได้หลายวิธีเหมือนกับต้นลำไยทั่วไป เช่น การตอนกิ่ง การเสียบยอด การทาบกิ่งและการเพาะเมล็ด แต่การขยายพันธุ์ในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีการเสียบยอดและทาบกิ่ง ต้นพันธุ์ที่ได้ เจริญเติบโตได้เร็ว มีระบบรากแก้ว ติดดอกออกผลเร็ว และไม่กลายพันธุ์ ส่วนวิธีการขยายพันธุ์ลำไยด้วยการเพาะเมล็ดนั้นไม่เป็นที่นิยมเพราะติดดอกและผลช้า

การปลูก ลำไยปิงปอง ให้ติดผลดก

การปลูกลำไยปิงปองสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่เหมาะสมคือช่วงปลายฤดูฝน หรือช่วงประมาณ เดือนกันยายน ซึ่งมีความชื้นในดินและอากาศที่พอเหมาะ ลำไยจะเจริญเติบโตได้ดี และไม่มีโรคและแมลงมารบกวน ควรขุดหลุมให้ลึกและกว้างประมาณ 50*50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก วางต้นพันธุ์ลำไยลงกลางหลุม กลบดินให้แน่นพอสมควร หาไม้ปักผูกเชือกติดกับต้นลำไย เพื่อป้องกันต้นลำไยปลูกใหม่โค่นล้ม และควรนำหญ้าแห้ง ฟางข้าว หรือเศษใบไม้แห้ง คลุมที่โคนต้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดินและป้องกันหน้าดินแห้ง เมื่อปลูกเสร็จรดน้ำทันที เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดินและรากลำไย

การดูแลรักษา ต้นลำไยปิงปอง

  • การกำจัดวัชพืช ก่อนที่จะปลูกลำไยปิงปอง ควรกำจัดวัชพืชที่แปลงปลูกให้เรียบร้อย อย่าปล่อยให้รก เพราะวัชพืชจะแย่งน้ำ แย่งอาหาร และยังเป็นที่อยู่อาศัยของพวกแมลงศัตรูพืช ที่เข้าทำลายต้นลำไย
  • การให้น้ำ เมื่อปลูกต้นลำไยเสร็จ ควรรดน้ำทันที และรดทุกวัน วันละ 1 ครั้ง และค่อยรดน้ำห่างเป็น 2-3 วันครั้งเมื่อต้นลำไยตั้งตัวได้แล้ว และรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ
  • การใส่ปุ๋ย เมื่อต้นลำไยปิงปองที่ปลูกอายุได้ประมาณ 1-2 ปี ควรใส่ปุ๋ยบำรุงใบและลำต้น และก่อนที่ลำไยจะออกช่อดอก ใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดอก และเมื่อลำไยติดผลแล้วผลมีขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตรใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงผลลำไย และก่อนที่จะเก็บผลลำไยประมาณ 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยอีกครั้ง และเมื่อเก็บเกี่ยวผลลำไยเรียบร้อยแล้วควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นและใบ
  • การตัดแต่งกิ่ง เมื่อเก็บเกี่ยวลำไยเสร็จควรตัดแต่งกิ่งที่หัก ฉีกขาด ระหว่างเก็บเกี่ยว และตัดแต่งกิ่งให้ต้นเป็นทรงพุ่ม เพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและแมลงทำลาย ตัดทิ้งและทำลายทิ้งเสีย

โรคและแมลงศัตรูพืชในลำไย และวิธีการป้องกัน

  • หนอนคืบ เข้าทำลายกัดกินใบลำไย ทำให้ลำไยชะงักการเจริญเติบโต
  • แมลงค่อมทอง โดยเข้ากัดกินใบอ่อนลำไย ทำให้ขอบใบลำไยแหว่ง
  • เพลี้ยหอยหลังเตา จะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกลำไย
  • โรคพุ่มไม้กวาด พบได้ตลอด สาเหตุจากไรลำไย ทำให้ใบและช่อดอกมีอาการม้วนหงิก แห้งเป็นสีน้ำตาล ทำให้ช่อดอกไม่สมบูรณ์ ไม่ติดผล
  • เพลี้ยแป้ง เพลี้ยขาว เพลี้ยไฟ จะเข้ามาทำลายในสวนลำไยเป็นระยะๆ
  • ตัวจั๊กจั่น ซึ่งคอยจะมาเยี่ยวรดใส่ใบและผลรวมถึงดอก ทำให้เกิดราดำ
  • นกค้างคาว ต้องระวังช่วงที่ลำไยติดผลแก่ ค้างคาวจะมาจิกกัดกินผลลำไยเสียหาย
  • กระลอก ซึ่งจะมากัดกินผลลำไยเมื่อตอนระยะที่ผลลำไยแก่เช่นเดียวกับนกค้าง

วิธีป้องกันโรคและแมลงในลำไยปิงปอง

ควรทำความสะอาดแปลงปลูก และกำจัดวัชพืชอย่าปล่อยให้แปลงปลูกรก และตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคหรือที่โดนแมลงทำลาย นำไปทำลายทิ้งเสีย หรือฉีดพ่นสารฆ่าแมลงทันทีเมื่อพบ อย่าปล่อยให้ระบาดในสวนลำไยเพราะจะทำให้เกิดการระบาดและสร้างความเสียหายให้กับต้นลำไยทั้งสวนค่ะ

หาซื้อ กิ่งพันธุ์ลำไยปิงปอง ได้ที่ไหน

คุณสามารถหาซื้อ กิ่งพันธุ์ลำไยปิงปอง ได้จากร้านขายกิ่งพันธุ์ไม้ผลทั่วไป หรือตามงานเกษตรแฟร์ ต่าง ๆ ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ และมีระบบรากที่แข็งแรง หรือสอบถามได้ที่สวนThaiG

ขาย กิ่งพันธุ์ลำไยปิงปอง ราคาไม่แพง

สวนThaiG ขายกิ่งพันธุ์ลำไยปิงปอง และกิ่งพันธุ์ไม้ผลอื่น ๆ ราคาไม่แพง คุณสามารถมาเลือกซื้อได้ที่สวน สวนเราอยู่ที่สามพราน นครปฐม และอู่ทอง สุพรรณบุรี คุณสามารถสอบถามเส้นทางได้ สวนเราเปิดทุกวัน หรือถ้าคุณไม่สะดวกมาเลือกซื้อ สั่งซื้อได้ สวนเรามีบริการจัดส่งให้ทางขนส่งเคอรี่ และขนส่งอื่นที่คุณสะดวก

กิ่งพันธุ์ลำไย ที่มีจำหน่าย ณ.สวนThaiG

  1. กิ่งพันธุ์ลำไยเพชรสาคร หรือลำไยพวงเพชรบ้านแพ้ว
  2. กิ่งพันธุ์ลำไยอีดอ
  3. กิ่งพันธุ์ลำไยเพชรน้ำเอก หรือเพชรบ้านแพ้ว
  4. กิ่งพันธุ์ลำไยพวงระย้า
  5. กิ่งพันธุ์ลำไยพวงทอง
  6. กิ่งพันธุ์ลำไยปิงปอง

กิ่งพันธุ์ลำไยปิงปองและกิ่งพันธุ์ลำไยสายพันธุ์ต่างๆ ท่านสามารถเข้าไปดู ราคาและขนาดต้นพันธุ์พันธุ์ลำไยได้ที่>> https://everysale.thaicentralgarden.com/

ขายกิ่งพันธุ์ลำไยปิงปองราคาถูก และพันธุ์ลำไยหลายพันธุ์ให้เลือก

กิ่งพันธุ์ไม้ผล ที่มีจำหน่าย ที่สวนThaiG

  • กิ่งพันธุ์มะม่วง สายพันธุ์โบราณ
  • กิ่งพันธุ์มะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศ
  • กิ่งพันธุ์ทุเรียน
  • กิ่งพันธุ์ส้มโอ
  • กิ่งพันธุ์ขนุน
  • กิ่งพันธุ์ฝรั่ง
  • กิ่งพันธุ์ชมพู่

สนใจกิ่งพันธุ์ไม้ผลต่างๆ ของสวนThaiG สามพราน เรามีกิ่งพันธุ์ไม้ผลมากกว่า 300 ชนิด ท่านเข้าไปดูได้ที่>> https://www.thaicentralgarden.com/

สั่งซื้อกิ่งพันธุ์ลำไยปิงปองและพันธุ์ลำไยต่างๆ

ต้องการต้นพันธุ์ลำไย ท่านสามารถโทรสอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายได้นะค่ะ เรามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายคอยตอบไลน์และรับโทรศัพท์ของท่านทั้งวันค่ะ

ติดต่อสอบถามที่ Call Center 0891710545,0923794398,
เวลา: (7.00 – 20.00)

Facebook: Thai Central Garden

Facebook : สุกัลยา เชียงดาว เฮิร์บ https://www.facebook.com/sukanya.dung

Line ID: @sukanyathaig

Line ID: manow98

แผนที่สวนไทยเซ็นทรัล สามพราน บ้านหอมเกร็ด พุทธมณฑลสาย6
แผนที่กูเกิ้ล https://goo.gl/maps/yaHMTAmCCqs

แผนที่สวนไทยเซ็นทรัล อู่ทอง “ศูนย์เพาะชำพันธุ์ไม้” สุพรรณบุรี https://goo.gl/maps/DovXKthKD6n

This website uses cookies.