หนุมานนั่งแท่น

฿100.00

รหัสสินค้า: 385 หมวดหมู่:

คำอธิบาย

หนุมานนั่งแท่น มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกากลาง  ปลูกได้ทั่วไป เป็นไม้ทรงพุ่ม ขนาดต้นสูงประมาณ 1-1.5เมตร ต้นอวบน้ำตรงโคนต้นเหนือดินจะมีหัว ประเทศไทยเรียกกันหลายชื่อ เช่น ว่านเลือด ว่านหนุมานนั่งแท่น ว่านหนุมาน มีประโยชน์ทางยาใช้น้ำยางจากลำต้นทาแผลสดช่วยห้ามเลือดและสมานแผลได้ผลดี

หนุมานนั่งแท่น น้ำยางสีขาวขุ่นใช้ป้ายทาแผลสดช่วยห้ามเลือดและสมานแผล ทาแผลฝีหนองช่วยให้แผลหายเร็ว

 

ลักษณะของต้น

ต้น เป็นไม้ทรงพุ่มต้นสูงประมาณ 1-1.5เมตร ลำต้นอวบน้ำเปลือกสีเทา ที่เปลือกของลำต้นมียางสีขาวขุ่นใส ใต้ดินมารากเหง้า เหนือเหนือตรงโคนของลำต้นต้นจะมีลักษณะพองเป็นหัว 

 

ใบสีเขียว กว้างรูปไข่ เว้าเป็นแฉก 3-5แฉก ใบเรียบ ก้านใบจะยาว

 

ดอก เป็นช่อ สีส้มแดง ออกดอกที่ปลายยอด

 

ผล รูปทรงรีหรือที่เรียกว่าทรงกระสวยแบ่งเป็นพลู ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลืองดำ ภายในผลจะมีเมล็ดรูปทรงกระสวยสีดำ มีพิษห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด

ประโยชน์
เหง้า นำมาโขกให้ละเอีดยใช้พอกตามข้อมือข้อเท้านวดช่วยแก้เคล็ดขัดยอก เหง้าช่วยสมานแผลได้เช่นเดียวกับน้ำยาง

น้ำยาง ใช้ทาแผลสด วิธีใช้ ล้างทำความสะอาดแผล เด็ดก้านใบที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป รอให้น้ำยางหยดออกมาใช้นิ้วรองนำไปทาที่แผล จะช่วยห้ามเลือดและสมานแผล ใช้น้ำยางป้ายทาแผล 2-3ครั้ง แผลจะแห้งและตกสะเก็ด

 

พิษของหนุมานนั่งแท่น ส่วนที่มีน้ำยางและเมล็ด

น้ำยางเมื่อถูกผิวหนังจะเกิดอาการแพ้ระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน ส่วนเมล็ดหากรับประทานเข้าจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย หายใจเร็ว การเต้นของหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อชักกระตุก ความดันโลหิตต่ำ (พิษคล้ายละหุ่ง) โดยเมล็ดตะมีรสอร่อยหากรับประทานเพียง 3 เมล็ด ก็ทำให้เป็นอันตรายได้ และถ้าเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ ตาบอดชั่วคราวได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากจะอาจทำให้ตาบอดถาวร 

ห้ามนำเมล็ดหรือผลมารับประทานเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษาพิษ : ให้ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และอาจใช้ยาสเตียรอยด์ทา แต่ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกโดใช้ถ่านกัมมันต์   ล้างท้อง หรือรีบทำให้อาเจียน และรักษาไปตามอาการ

 

สมุนไพรมีทั้งประโยชน์และโทษควรศึกษาข้อมูลก่อนใช้

เอกสารอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “หนุมานนั่งแท่น (Hanuman Nang Thaen)”.  หน้า 326.

หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หนุมานนั่งแท่น”.  หน้า 134.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “หนุมานนั่งแท่น”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้เมืองไทย พืชสมุนไพร1.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org.  [15 ก.ค. 2014].

ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.  “ว่านหนุมานนั่งแท่น”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/.  [15 ก.ค. 2014].

พืชมีพิษต่อระบบทางเดินอาหารและโลหิต, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “หนุมานนั่งแท่น”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/use/toxic_002.htm. [15 ก.ค. 2014].