เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประเภทพืชสวน “อุดม ฐิตวัฒนะสกุล”

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ คุณอุดม ฐิตวัฒนะสกุล เรียนจบจาก ม.เกษตร จากทุงบางเขน เป็นลูกเกตรกรซึ่งเกิดในครอบครัวที่ทำสวนกล้วยไม้แห่งทุ่งหนองแขม กทม มีชีวประวัติที่น่าสนใจ

การทำการเกษตรปัจจุบันนี้  มันช่างเหนื่อยยากแสนเข็นสิ้นดี กว่าพี่น้องเราชาวเกษตรกรที่ก้มหน้าก้มตาทำงาน กว่าจะได้เงินมาแต่ละบาทนั้นมันเหนื่อยแสนที่จะเหนื่อย และนี่ก็เป็นกลุ่มเกษตรกรกลุ่มใหญ่ ที่มีอยู่ในประเทศเรา

แต่ก็มีเกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งเหมือนกันที่ประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นส่วนน้อย จากการที่ข้าพเจ้า ได้เฝ้ามองเกษตรกรไทยมายาวนานพอสมควรนั้น เราก็ได้ทราบว่า กลุ่มที่ไม่ประสบความสำเร็จเกิดจากการไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำ คือเคยปฎิบัติเช่นไร ก็ทำอยู่เช่นนั้น ส่วนกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จนั้น เขาจะมีการปรับเปลี่ยนและพยายามพัฒนา และทดลองอยู่ตลอดเวลาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “เกษตรก้าวหน้า”  ซึ่งเกตรกรกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเล็กมาก ข้าพเจ้าจะยกตัวอย่างเกษตรกรท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นเกษตรกรดีเด่นของจังหวัด ราชบุรี เกษตรกรท่านนี้มีนามว่า คุณอุดม ฐิตวัฒนะสกุล และเป็นผู้สมัคร ส.ว.สรรหา เรียนจบจาก ม.เกษตร จากทุงบางเขน เป็นลูกเกษตรกรซึ่งเกิดในครอบครัวที่ทำสวนกล้วยไม้ แห่งทุ่งหนองแขม กทม.ของเรานี่เอง

ความดีและความที่เป็นเกษตรก้าวหน้าของคุณอุดม  ฐิตวัฒนะสกุล นี่เองจึงได้ถูกคัดเลือก ให้เป็น เกษตรกรดีเด่น สาขาพืชสวน

ประวัติเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

นายอุดม ฐิตวัฒนะสกุล เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประเภทพืชสวน  นายกสมาคมไม้ดอกไม้ประดับคนปัจจุบัน เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2508 ณ บ้านเลขที่ 35/1 หมู่ 5 ต.หลักสอง เขตหนองแขม จ.กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของคุณพ่อพิชัย ฐิตวัฒนะสกุล ซึ่งได้รับรางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติ ใน พ.ศ.2543 และ คุณแม่สนอง ฐิตวัฒนะสกุล เป็นบุตรลำดับที่ 4 จากจำนวนพี่น้อง 6 คน ซึ่งประกอบด้วย พี่ชาย 3 คน คือ พันตำรวจเอกสมเดช ฐิตวัฒนะสกุล นาวาเอกพิเศษนพดล ฐิตวัฒนะสกุล นายดอน  ฐิตวัฒนะสกุล  และน้องสาว 2 คน คือ นางวรรณี ธำรงวุฒิ และ น.ส.วรรณา ฐิตวัฒนะสกุล สมรสกับนางดุจฤดี ฐิตวัฒนะสกุล (พลอยเกษม) มีธิดา 2 คน คือ ด.ญ.ณัฐวรีย์ ฐิตวัฒนะสกุล และ ด.ญ.ทรรษิกา  ฐิตวัฒนะสกุล ปัจจุบันพำนักอยู่ที่บ้านเลขที่ 44 หมู่ 4 ต.บ้านบ่อ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งครอบครัวฐิตวัฒนะสกุล เป็นครอบครัวของเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้รุ่นบุกเบิกของประเทศไทย ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มที่มีความคิดก้าวหน้า กล้วยไม้พันธุ์แรกๆ ที่ปลูก คือกล้วยไม้หวาย  มาดามปอมปาร์ดัว (Dendrobium)  และหวายซีซาร์ (Dendrobium) และได้เผยแพร่ไปสู่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้มีการปลูกอย่างแพร่หลาย ทำให้ เขตหนองแขมกลายเป็นแหล่งปลูกกล้วยไม้แหล่งใหญ่ของไทยและจำหน่ายทั่วไปทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ด้านการศึกษา

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จาก โรงเรียนปัญญาวรคุณ จ.กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2526 การ ศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2529 นอกจากนี้ยังได้รับ ปริญญาวิทยาศาตร์มหาบัณฑิกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในปี พ.ศ.2549 อีกทั้งยังเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์เพื่อศึกษาหลักธรรมอีก 2 ปี หลังจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ช่วง ปี พ.ศ.2530-2531  ณ วัดหนังราชวรวิหาร บางขุนเทียน  ซึ่งได้พากเพียรศึกษาธรรมะจนได้ ความรู้ทางธรรม ระดับนักธรรมโท ในช่วงศึกษาเล่าเรียน ในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทบ. (ศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุดม ให้ความสำคัญทั้งการเรียนในชั้นเรียนและการร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง เป็นนักดนตรีในวงดาวกระจุยอันลือชื่อ และเป็นนักจัดรายการวิทยุ คลื่น AM.1107 KHz. ของมหาวิทยาลัยฯ เป็นหัวหน้าตึกพักชายที่ 8 ประธานเชียร์ชมรมชาวตึกชาวหอ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ นักกีฬาชกมวย สนใจกีฬาว่ายน้ำและเข้าอบรมหลักสูตรว่ายน้ำชั้นสูงจนได้เป็นครูสอนว่ายน้ำในโรงเรียนสาธิตเกษตรฯ

ด้านการทำงาน

อุดม ฐิตวัฒนะสกุล เริ่มประกอบอาชีพหลังจบการศึกษาระดับปริญญา ด้วยการทำงานในตำแหน่งนักวิชาการเกษตร  ในบริษัทเอกชนด้านเคมีเกษตรและวัสดุภัณฑ์ โดยทำงานอย่างมุ่งมั่น และรับผิดชอบในหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ จนก้าวหน้าในหน้าที่การงานโดยลำดับ จนกระทั่งได้รับตำแหน่งนักวิชาการเกษตร จากบริษัทโฟรแดกซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศอินเดีย

จุดเริ่มต้นของการเป็น เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

จนกระทั่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 (Tomyumkung crisis) บริษัทประสบปัญหาทำให้ต้องออกมาค้นหาโอกาสให้ตนเอง ด้วยการที่เติบโตจากครอบครัวเกษตรกร จึงเริ่มต้นด้วยการเข้ามาบุกเบิกที่ดินของครอบครัวที่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ในช่วงแรกยังเป็นช่วงของการค้นหา จึงปลูกพืชหลายชนิด ทั้งพืชสวนครัว พืชล้มลุก ไม้ดอกไม้ประดับ และจำหน่ายผลผลิตเองด้วยการจำหน่ายส่งและปลีก

ปลูกไม้ตัดใบขายส่งออกต่างประเทศ

ต่อมาจึงพบว่า ไม้ประดับ เป็นพืชที่ได้รับความนิยม กอปรกับอุปสงค์ในตลาดมากกว่าอุปทานจึงทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่มีปริมาณความต้องการที่มากและมุ่งเน้นมายังแหล่งผลิตในประเทศไทย จึงเห็นช่องทางทางการตลาด จึงขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดห้องปฏิบัติการ (laboratory) เพื่อทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี และพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความแปลกใหม่ สวยงามและมีคุณภาพ รวมทั้งการปลูกที่มีการควบคุมอย่างดี ภายใต้กระบวนการปลูกที่ทันสมัยตามหลักเกษตรอินทรีย์ จึงทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ลูกค้าจึงให้การยอมรับในคุณภาพ สวนอุดมการ์เด้น จึงเป็นผู้ผลิตไม้ใบส่งออกรายใหญ่ที่สุดในจังหวัดราชบุรี และเป็นรายใหญ่อีกแหล่งหนึ่งของประเทศไทย

สวนอุดมการ์เด้น แหล่งผลิตไม้ใบของ”ดำเนินสะดวก”

อุดมการ์เด้น ตั้งอยู่ที่ 179 ม.3 ตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ปลูกไม้ประดับพันธุ์ดีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น มอนสเตร่า เซลุ่มมะละกอ หน้าวัวใบ บอนสี โดยจำหน่ายทั้งไม้ประดับทั้งต้น และตัดใบ ซึ่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ อาทิ

  • อินโดนีเซีย
  • มาเลเซีย
  • เยอรมัน
  • เบลเยี่ยม
  • เนเธอร์แลนด์
  • สหรัฐอาหรับอิมิเรต
  • เกาหลี
  • อังกฤษ
  • ญี่ปุ่น
  • อเมริกา

ศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อไม้ อุดมการ์เด้น

สวนไม้ใบ อุดมการ์เด้น มีศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณพืชของตนเอง ซึ่งทำหน้าที่ในการพัฒนาสายพันธุ์ พรรณพืชในกลุ่มไม้ใบ อย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการพัฒนาสายพันธ์ใหม่ของพืชในกลุ่มไม้ใบ เช่น

  • เจ้าพระยาโกลเด้น (philovendron golden chaopraya, hybrid)  เป็นไม้ใหม่ที่มีใบใหญ่ หนา  รูปใบหยักสวยงาม ทนต่อโรคต่างๆ
  • เล็บครุฑโชค ซึ่งมีความต้านทานโรคแมลง มีลักษณะใบหยิกเป็นรูปถ้วย ลำต้นตรงยาว สีเขียวสม่ำเสมอ ปลูกง่าย
  • ซานาดู (philovendron xanadu, hybrid)  ปลูกง่ายให้ผลผลิตเร็ว ใบหนา ก้านยาว มีความทนทานหลังจากตัดใบจากต้น ถ้าปลูกเป็นไม้กระถางจะทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีทั้งอากาศร้อนและอากาศเย็น

กระบวนการผลิตไม้ตัดใบที่ดี

ในกระบวนการปลูกพืชในอุดมการ์เด้น ได้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ประกอบกับ การปลูกภายใต้หลักเกษตรอินทรีย์ ทำให้ได้ผลผลิตที่มี อายุการใช้งานนานกว่าไม้ตัดใบทั่วไปกว่า 40% โดยการนำเอาสารชีวภภาพและอิทรี ไม่ว่าจะเป็น ไคโตซาน และปุ๋ยที่ผลิตจากอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในสวน หรือนำสิ่งที่เหลือใช้นำมาประยุคทำให้เกิด มูลค่าเพิ่มของเหลือทิ้งที่ไร้ค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น โฟม สแลนคลุมหลังคา ใบสนที่ร่วงหล่น กาบมะพร้าวที่เหลือใช้จากการทำกระบะปลูกกล้วยไม้ อิฐแตกหัก เป็นต้น ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่มาทำการเพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาเป็นวัสดุปลูก

มาตรฐานของสวนไม้ตัดใบ

นอกจากนี้ คุณอุดมยังมีระบบการบริหารจัดการภายในสวนเป็นอย่างดีและมีมาตรฐาน  โดยในพื้นที่เพาะปลูก กว่า 60 ไร่ ใช้แรงงานคนเพียง 8 คน อีกทั้งยังมีระบบการจัดการน้ำที่ดีในระบบบริหารน้ำแบบหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์ ที่ใช้น้ำหมุนเวียนอยู่ภายในสวน โดยไม่มีการนำน้ำจากภายนอกเข้ามาและไม่ปล่อยน้ำจากภายในสวนออกสู่ภายนอก ทำให้บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไม้ดอกและไม้ประดับในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เชิญ คุณอุดม ไปบรรยายพิเศษเรื่องการทำไม้ตัดใบเชิงชีวภาพ ในงานประชุมลูกค้าสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2553

ด้านบทบาททางสังคม

สวนอุดมการ์เด้น ตระหนักถึงปรัชญาด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมหรือศึกษาเรียนรู้ โดยพัฒนาสภาพทางกายภาพ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพแก่นักศึกษาหลายสถาบันทั่วประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการลูกพระดาบส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่ขอเข้าศึกษาดูงานมากมาย นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์เรียนรู้อย่างเป็นทางการจากหลายหน่วยงาน อาทิ

  • ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวพ่อหลวง กรมการสื่อสารทหาร กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพไทย
  • ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (เครือข่าย) กปร.
  • ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
  • ศูนย์เรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  • แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป อาทิ เป็นแหล่งข้อมูลในโครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร เรื่อง แผนธุรกิจไม้ตัดใบเพื่อการค้า

นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษ ใน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อีกด้วย

คุณอุดม  เข้าเป็นสมาชิกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2550 ได้เข้าร่วมการดำเนินงานของสมาคมฯ อย่างไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวจนได้รับการยอมรับในบรรดาสมาชิก และได้รับการคัดเลือกเป็นนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ใน ปี พ.ศ.2552  ซึ่ง คุณอุดม ได้สร้างผลงาน ที่ส่งเสริมให้สมาคมมีผลงาน ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อมวลสมาชิก ตลอดจนบุคคลทั่วไป โดยการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจของสมาคมฯ ทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน

ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาคมฯ มีผลงานที่ได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง บ่อยครั้งที่หน่วยงานต่างๆ ได้เชิญ คุณอุดมเข้าร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานจัดงานต่างๆ ในฐานะนายกสมาคมฯ อุดมได้ ส่งเสริมให้สมาคมฯได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานต่างๆ ระดับชาติหลายงาน ดังนี้

งานในประเทศ ได้แก่

  • งานบ้านและสวนแฟร์ งานสีสันพรรณไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ โดยร่วมกับ คณะกรรมการจัดงานมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
  • กรุงเทพมหานครและ กรมส่งเสริมการเกษตร งานเกษตรแฟร์  งานมหกรรมไผ่แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ งานประจำปีสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย
  • งานเปิดบ้านวิชาการเกษตร  งานมหกรรมพืชสวนโลก งานราชพฤกษ์ รวมใจภักดิ์ รักพ่อหลวง เป็นต้น

งานต่างประเทศ ได้แก่

  • งาน BATAM INTERNATIONAL HORTIFEST 2010 ซึ่งสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมผู้ส่งออก ไม้ดอก ไม้ประดับและสำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศประจำกรุงจาการ์ตา ร่วมจัดงานแสดงไม้ดอกไม้ประดับในงาน  วันที่ 15-22 ก.ค.2553 และได้รับความชื่นชมและชื่นชอบจากผู้เข้าเยี่ยมชม ภายใต้โครงการ ศึกษาการกระจายสินค้าเกษตรประเภทไม้ดอกไม้ประดับและกล้วยไม้ของประเทศไทยสู่ ตลาดอินโดนีเซียโดยการสนับสนุนของนายชุมเจตน์ กาญจนเกษร อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงจาการ์ตา และงานแสดงไม้ดอกไม้ประดับในเมืองยอร์ค ยาการ์ต้า  ประเทศอินโดนีเซียใน พ.ศ.2553จากความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตรเป็นอย่างดี จึงได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษให้แก่หน่วยงานต่างๆ มากมาย อาทิ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน โรงพยาบาลศิริราช กองทัพบก เป็นต้น

ด้านตำแหน่งทางสังคม

อุดม ได้ดำรงตำแหน่งต่างๆมากมาย ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และตำแหน่งอื่นทั้งอดีตและปัจจุบัน ดังนี้

  1. อดีตอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการจัดดำเนินการ สภาการเกษตรแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  2. อดีตที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  3. อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช (ประกาศคณะรัฐมนตรี) (CITES)
  4. อดีตอนุกรรมการพืชสวนในคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
  5. อดีตอนุกรรมการพืชอนุรักษ์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวง    เกษตรและสหกรณ์
  6. อดีตอนุกรรมการเตรียมการและยกร่าง    กฎหมายลำดับรองเพื่อการคุ้มครอง    พันธุ์พืชใหม่
  7. ที่ปรึกษาศูนย์การเรียนรู้ตามแนวพ่อหลวงกรมการสื่อสารทหาร กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพไทย
  8. คณะทำงานศึกษาการกระจายสินค้าเกษตร ประเภทไม้ดอกไม้ประดับและกล้วยไม้ เข้าสู่ตลาดอินโดนีเซีย แบบมีส่วนร่วม
  9. กรรมการที่ปรึกษาสมาคมพืชสวน แห่งประเทศไทย
  10. ที่ปรึกษาสมาคมบอนสีแห่ง    ประเทศไทย
  11. ที่ปรึกษาพิเศษศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง?)
  12. วิทยากรรายการศึกษาทัศน์สารคดีเพื่อการศึกษาตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สถานีโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล
  13. ที่ปรึกษาสภาวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร
  14. ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ.ดำเนินสะดวก  จ.ราชบุรี
  15. ประธานคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรและยุวเกษตรกร อ.ดำเนินสะดวก
  16. ประธานกรรมการจัดงานสีสันพรรณไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ
  17. ประธานกรรมการฝ่ายประมูลพันธุ์ไม้งานสีสันพรรณไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ
  18. ที่ปรึกษาการจัดงานวังน้ำเขียวฟลอร่าแฟนตาเซีย
  19. คณะทำงานจัดการประกวดพืชสวน งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ
  20. คณะกรรมการบริหารการจัดงานราชพฤกษ์ รวมใจภักดิ์ รักพ่อหลวง
  21. คณะกรรมการงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ

เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ

  • เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาทำสวน
  • นิสิตเก่าดีเด่น สมาคมนิสิตเก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมป์ พ.ศ.2550
  • รางวัลผู้ทำดีตามโครงการเมืองไทยเมืองคนดี (ยกย่องเชิดชูคนดี) ปี 2551 โดย กรมการศาสนา
  • รางวัลชนะเลิศการประกวดเกษตรกรดีเด่น อาชีพทำสวน ระดับเขต สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2  จ.ราชบุรี
  • ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ผลงานดีเด่น

การดำเนินกิจกรรมในปัจจุบัน ผลิตไม้ตัดใบ,ไม้ใบ,ไม้ประดับ ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค

1. ปรับปรุงสวนเก่า โดยการขุดบ่อน้ำ 10% ของพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลน

2. ปรับปรุงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม/ฝนแล้ง โดยใช้เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ เช่น ขุดลอกลำประโดง รอบ ๆที่ดิน ทำคันดินป้องกันน้ำท่วมให้สูงกว่าระดับน้ำ

ที่เคยท่วมในอดีต

3. การจัดระบบน้ำเข้า-ออก สวนแบบประหยัดพื้นที่ โดยทำบ่อคอนกรีตเป็นระดับสร้างมุมตกกระทบของน้ำ เพื่อเป็นการเติมออกซิเจนในช่วงการนำน้ำเข้าสวน

และเลี้ยงปลากินพืชเป็นดัชนีตัวชี้วัดคุณภาพน้ำ

4. พัฒนาการผลิตไม้ประดับ โดยการสร้างโรงเรือนจากสลิงที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากการไฟฟ้าที่หมดอายุการ ใช้งานมาขึงเป็นคานต่างระดับทำให้ประหยัดต้นทุน

การก่อสร้างโรงเรือน มีความแข็งแรงทนทาน และมีการระบายอากาศได้ดีในสภาพโรงเรือนที่ใหญ่

5. ใช้ยางรถยนต์เก่าฝังดินยึดสายสลิงแทนการใช้คอนกรีตจำนวนมาก

6. ใช้โฟมที่เป็นวัสดุห่อหุ้มเครื่องจักรจากต่างประเทศมาเป็นวัสดุปูโต๊ะสำหรับ วางไม้กระถาง ส่วนที่แตกหักจะนำมาใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปลุก

7. ใช้เศษซาแลนมาทำขอบแปลงปลูกต้นไม้ หรือใช้พันเสาคอนกรีต เพื่อปลูกกล้วยไม้

8. ใช้เศษมะพร้าวมาเป็นวัสดุปลูก โดยทั่วไปผู้ประกอบการจะใช้กาบมะพร้าวไปทำกระบะปลูกกล้วยไม้ส่วนหัวและท้าย จะทำลาย จึงได้ทดลองนำเศษ

มะพร้าวมาปลูกต้นไม้ ปรากฏว่าได้ผลดี และยังมีอายุการใช้งานยาวนาน

9. การพัฒนาพันธุ์ไม้และขยายแหล่งได้ทำอย่างต่อเนื่องทุกปี จนปัจจุบันมีโรงเรือน 11 โรงเรือน ในพื้นที่ 40 ไร่ และแปลงต้นไม้ขุดล้อม 10 ไร่

สร้างห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย ร่วมกับหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้เทคนิครังสีแกมมาเข้ามาใช้ในการปรับปรุง

พันธุ์ไม้ด้วย ส่วนพื้นที่อีก 10 ไร่ เป็นอาคารบ้านพัก บ่อน้ำ และทางเดินเท้า

10. การควบคุมคุณภาพไม้ประดับให้มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการของตลาด จำเป็นต้องมีต้นพันธุ์จำนวนมากพอ จึงสามารถตัดใบได้ เพราะพันธุ์ไม้

บางชนิด เมื่อตัดใบแล้วต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต ส่วนระบบการให้น้ำได้ดัดแปลงวัสดุที่หาได้ง่ายทำเป็นตัวเพิ่มแรงดันของน้ำ และสามารถใช้ได้ผลดี

11. การบริหารงานบุคคล การผลิตไม้ตัดใบ ต้องมีการดูแลรักษาที่ดี ต้องใช้แรงงานที่มีความรู้ความเข้าใจ อุดมการ์เด้นมีคนงานประจำอยู่ 8 คน

ซึ่งคนงานเหล่านี้เป็นคนในท้องถิ่นและเริ่มทำงานที่สวน ตั้งแต่แรกจนมีความรู้และประสบการณ์ในระดับที่ดี นอกจากนี้สวนอุดมการ์เด้นยังเป็นที่ฝึกงานของ

นักศึกษาหลายสถาบัน โดยได้จัดสวัสดิการ ให้แก่นักศึกษาทุกคนที่มาฝึกงาน เช่น มีบ้านพัก น้ำไฟฟรี ตลอดช่วงฝึกงาน เบี้ยเลี้ยง วันละ 50 บาท/คน มีบริการรถยนต์รับ-ส่งฟรี หากมีธุระและขออนุญาต

ผลงานและความสำเร็จ

1. มีพื้นที่ในการทำสวนของตนเองจำนวน 70 ไร่ และดูแลบริหารจัดการสวนของพ่ออีกจำนวนหนึ่ง

2. การพัฒนาและขยายแปลงปลูกทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพราะสินค้าในปัจจุบันยังไม่พอต่อตลาดบริโภค ซึ่งการขยายงานนั้นจำเป็นอย่างมากที่ต้องสร้าง โรงเรือนอย่างต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบันมี 25 โรงเรือน รวมพื้นที่ 70 ไร่

3. แปลงปลูกแต่ละแปลง มีการปลูกพืชสลับชนิดกัน หรือปลูกปนกันบ้าง จากการทดลองสามารถลดการทำลายของแมลงได้เป็นอย่างดี โดยที่ลูกค้าญี่ปุ่นและยุโรป,

อเมริกาจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสารเคมีตกค้างปีละ 2 ครั้ง ระยะเวลาที่ค้าขายมา 8 ปี กับบริษัท่ต่างชาติเหล่านี้นี้ ยังไม่มีการพบทำให้เกิดความเชื่อมั่นทางการค้า จะใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืชที่น้อยและจำเป็นเท่านั้น

4. การผลิตมุ่งเน้นทางด้านคุณภาพ ควบคู่กับปริมาณที่ลูกค้าต้องการในแต่ละรายได้ การหาตลาดจึงมีความสำคัญรองมาจากการผลิตมาก เพราะลูกค้ามักมุ่งเน้นของดีมีคุณภาพ จึงเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ไป ในตัว

5. ทุนในการขยายงานที่ผ่านมานำมาจากการขายผลผลิตที่ออกสู่ตลาด โดยระยะเวลา 3 ปีแรก ที่ผ่านมา สามารถขยายพื้นที่รวมกว่า 70 ไร่ ซึ่งไม่ได้รวมถึงไซด์งานที่ลาดบัวหลวง 30 ไร่ และดำเนินสะดวก ตั้งแต่ต้นปี 2546 สร้างโรงเรือนได้ 60 ไร่ โดยรวมทั้งหมดมีโรงเรือนที่ให้ผลผลิตแล้ว 70 ไร่

6. การขยายพันธุ์ในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยีชีวภาพโดยส่วนใหญ่จะให้ต้นพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพคราวละ มาก ๆ เพื่อสอดคล้องกับการขยายตัวของตลาด

รวมถึงความสามารถขยายต้นพันธุ์ให้ภาครัฐ เอกชน โครงการหลวง และเกษตรกรทั่วไปเป็นระยะ ๆ

7. การปรับปรุงพันธุ์ใช้เทคนิครังสีแกรมม่าเข้ามาช่วย และการผสมพันธุ์ก็ได้พันธุ์ใหม่ขึ้นมาเช่นกัน

ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในท้องถิ่น

1. ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินสะดวก จัดเตรียมสวนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และก่อให้เกิดผลดีแก่สวนในด้านการจำหน่ายต้นพันธุ์ไม้ตัดใบอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้อุดมการ์เด้นยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนภายในจังหวัดและต่าง จังหวัด ซึ่งมีผู้สนใจขอเข้าชมสวนตลอดเวลา

2. ปัจจุบันเป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษาหลายสถาบัน จำนวนมากกว่า 15 สถาบัน เช่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ม.สุรนารี ม.พระจอมเกล้าราชภัฏเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ม.แม่เจ้ เป็นต้น มีการจัดทำหลักสูตรการฝึกงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว เรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ศึกษาดูงานบริษัทส่งออก สวน ฟาร์ม ตลาด และงานแสดงต่าง ๆ ในช่วงเวลานั้น ๆ และมีการออกประกาศนียบัตรการฝึกงาน จากอุดมการ์เด้น หลังการฝึกงานและเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการปลุกไม้ประดับตัดใบผ่านนิตยสาร ที่เกี่ยวกับการเกษตรอีก หลายฉบับ นอกจากนี้ยังเป็นวิทยาลัยถ่ายทอดไม้ประดับตัดใบแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และ เอกชนอย่างต่อเนื่อง

3. พันธุ์ไม้จากอุดมการ์เด้นหลายชนิดได้บริจาคให้โรงเรียน วัด ส่วนราชการและเอกชน หลายแห่งด้วยกัน

4. เป็นที่ปรึกษาโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพปั้นเม็ด และโครงการหนึ่งตำบลหนี่งฟาร์ม ของอำเภอดำเนินสะดวก

5. เป็นที่ปรึกษาของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)

6. ร่วมกับภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน

7. เป็นที่ปรึกษาตกแต่งสถานที่และปรับภูมิทัศน์ของอาคารศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

9. สนับสนุนไม้ดอกไม้ประดับ อุปกรณ์ในการตกแต่งสวน ให้กับหน่วยงานในการจัดตกแต่งสถานที่และในงานออกร้านต่าง ๆ

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. พื้นที่ทำสวนของตนเอง มีเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดิน

2. มีการปลูกผลไม้บนคันดินเพื่อยึดคันดินลดการพังทลายของคันดินเป็นแนวบังลม ลดการสูญเสียจากภัยธรรมชาติ

3. เลี้ยงหมูป่าเพื่อจำหน่ายพันธุ์ ช่วงผลไม้สุกบางครั้งไม่สามารถจำหน่ายได้ หรือได้รับความเสียหายจากแมลงวันทองก็นำมาเป็นอาหารหมูป่า ยังเป็นการตัดวงจรของแมลงวันทองได้อย่างดี

4. มูลหมูป่า นำมาทำปุ๋ยหมักร่วมกับใบไม้ที่ไม่ได้คุณภาพ ใส่ในดินเพิ่มสารอาหารให้ไส้เดือน เพิ่มอินทรีย์สารแก่ดินและต้นไม้โดยตรง ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้พอสมควร

5. ปลูกพืชริมแหล่งน้ำ เช่น ลิ้นมังกร มะพร้าว หมากเหลือง เพื่อลดการพังทลายของดิน และปลาที่กัดเซาะริมตลิ่ง ยังสร้างรายได้งดงามอีกด้วย

6. ทำบ่ออนุบาลลูกกบและปลาให้โตก่อนที่จะปล่อยสู่ธรรมชาติ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์แบบจัดการ เพราะลูกกบเล็กถ้าปล่อยทันทีอาจถูกศัตรูที่มีมากในธรรมชาติจัดการหมดก่อนที่ จะโตเต็มวัยหรือภาวะสามารถเอาตัวรอดได้เอง